วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การบริหารกิจการประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


โรงผลิตน้ำประปาเทศบาลตำบลแม่ขรี จังหวัดพัทลุง
บทนำ


               ในปี พ.ศ.2551 ผมได้มีโอกาสได้บริหารกิจการประปาของเทศบาลตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง เนื่องจากได้สอบเปลี่ยนสายงานมาดำรงตำแหน่งบริหารโดยเปลี่ยนมาดำรงตำแหน่งรองปลัดเทศบาลตำบลแม่ขรี ทำให้มีโอกาสได้รับผิดชอบดูแล และบริหารกองการประปาของเทศบาล ที่ในขณะนั้นเป็นงานที่ถือได้ว่าสำคัญมาก เพราะต้องให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนในการอุปโภคและบริโภคทั้งเทศบาล และยังร่วมถึงประชาชนที่อยู่นอกเขตรับผิดชอบของเทศบาลด้วย การที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใช้น้ำจำนวนมากทำให้ต้องใช้ความความรู้ความสามารถทุกด้านของตัวเอง และเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากตำราและผู้เชียวชาญ เพื่อทำให้การบริหารจัดการงานที่รับผิดชอบสามารถดำเนินการไปได้ด้วยความเรียบร้อย และไม่ให้เกิดความผิดพลาดอันจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้ใช้น้ำได้ จนทำให้กิจการประปาของเทศบาลตำบลแม่ขรีสามารถดำเนินการได้อย่างดี มีประสิทธิภาพในระดับที่ดีระดับหนึ่งไม่ว่าทำให้น้ำประปามีคุณภาพทั้งความแรง ปริมาณน้ำประปาที่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของผู้ใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นโดยต่อเนื่องมาตลอด ความใสของน้ำประปาที่มีมาตรฐานผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานราชการ การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บค่าน้ำประปา โดยมีการนำระบบ Smartphone Tablet มาใช้ในการจดมาตรน้ำ คำนวณค่าน้ำประปาและออกใบแจ้งหนี้ให้แก่ผู้ใช้น้ำประปา โปรมแกรม Prapa Unit ของอาจารย์มงคล เดชสงคราม การออกเทศบัญญัติการใช้น้ำประปาที่มีการแบ่งประเภทผู้ใช้น้ำ โดยใช้หลักผู้ใดใช้ประโยชน์จากการใช้น้ำประปาในการสร้างรายได้ ที่มิใช่ผู้ที่ใช้น้ำเพียงเพื่ออยู่อาศัยต้องจ่ายค่าน้ำในราคาที่สูงกว่าผู้ใช้น้ำประเภทอยู้อาศัย การติดตามทวงหนี้ การงดจ่ายน้ำให้กับผู้ใช้น้ำที่ค้างชำระ ฯลฯ จนทำให้กิจการประปา กองการประปาเทศบาลตำบลแม่ขรีสามารถมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจนลดเงินอุดหนุนเพื่อกิจการประปาจากเทศบาลลง จากเดิมที่ต้องอุดหนุนปี



โปรแกรม PRAPA UNIT ของอาจารย์มงคล เดชสงคราม

ออกใบแจ้งหนี้แบบเดียวกับ การประปาส่วนภูมิภาค
   






















       เนื่องจากการบริการสาธารณะด้านประปาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นบริการสาธารณหลักที่ให้บริการพี่น้องประชาชน ดังน้้นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผมเลยอยากจะแบ่งปันการบริหารจัดการกิจการประปาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ผู้สนใจเผื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนางานประปาของท้องถิ่นต่อไป



อุปกรณ์ที่ใช้ในการงดจ่ายน้ำประปาให้กับผู้ที่ค้างค่าน้ำ แบบพวงมาลัย

อุปกรณ์ที่ใช้ในการงดจ่ายน้ำประปาให้กับผู้ที่ค้างค่าน้ำ แบบบอลวาล์ว

อุปกรณ์ที่ใช้ในการงดจ่ายน้ำประปาให้กับผู้ที่ค้างค่าน้ำ แบบพีวีซี


วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เกษียน กับ เกษียณ

 วันก่อนได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานจากเทศบาลใกล้เคียง ซึ่งเป็นเทศบาลที่ได้รับรางวัลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี และได้พูดคุยกับท่านปลัด ผมเองได้ความรู้จากท่านปลัดหลายอย่าง อย่างนึงที่เกิดสะดุดสิ่งที่ท่านปลัดได้พูด คือ "คุณรู้หรือเปล่า เกษียณ กับ เกษียน มีความหมายต่างกันอย่างไร"
     
        ผมว่ายังคงมีหลายท่านที่ยังไม่ทราบความหมายของคำว่า เกษียน คืออะไร? ส่วนคำว่าเกษียณน้้นส่วนใหญ่ทราบอยู่แล้วว่ามีความหมายเกี่ยวกับอายุ เช่นการเกษียณอายุราชการ หมายถึง การสิ้นไป หรือการสิ้นสุดของการรับราชการ เป็นต้น

       วันนี้ผมเลยอยากที่จะมาเผยแพร่ ความหมายและความรู้เกี่ยวกับการการเกษียนหนังสือให้ท่านทราบ

       เกษียน เขียน น หนู สะกด มาจากคำว่า เขียน เกษียนหนังสือ มีความหมายว่าการเขียนหนังสือ แยกเป็น เกษียน (เขียน) + หนังสือ เป็นคำแผลงของภาษาไทย ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาสันสกฤต เป็นคำสร้างขึ้นใหม่เพื่อใช้ในความหมายว่า ข้อความที่เขียนแทรกไว้ (ประพันธ์ เวารัมย์) ในการเกษียนหนังสือนั้นเป็นการเขียนข้อความลงในหนังสือในลักษณะที่เป็นการเขียนแทรก หรือที่เรียกว่าเป็นการบันทึกแทรกลงในหนังสือ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการบันทึกว่า "บันทึก หมายถึง ข้อความที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา หรือ ข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ....."

      ตามสำนักราชบัณฑิตยสภา คำว่า เกษียณ เขียน สระเอ  ก ไก่  ษ ฤๅษี  สระอี  ย ยักษ์  ณ เณร  แปลว่า สิ้นไป     ใช้เกี่ยวกับการกำหนดอายุของการทำงาน เช่น ข้าราชการเกษียณอายุราชการเมื่ออายุครบ ๖๐ ปี

      เป็นความรู้ที่รู้ไว้ใช่ว่า ความรู้รอบตัวที่รู้แล้วจะทำให้คนรู้ดูดีดูเท่ห์ครับ และต่อไปจะได้ใช้ให้ถูกต้อง

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ร้อยเรียง เพื่อเรียนรู้

9 ปีที่ได้ทำงานบริหารเทศบาลตำบลแม่ขรี ประสบการณ์จากการทำงานรองปลัดเทศบาล เมืี่อถอดบทเรียน ร้อยเรียง เพื่อเรียนรู้ พอเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆที่สนใจได้นำไปปรับใช้ในการทำงานท้องถิ่น

....มีคนเคยบอกไว้ว่า การทำงานย่อมมีอุปสรรค ยิ่งทำงาน
มากเท่าไร ยิ่งมีอุปสรรคและปัญหามากขึ้นเท่านั้น แต่นั้นไม่ใช่สิ่งที่จะหยุดคนที่มีความมุ่งมั่นในการทำงานได้ สิ่งที่เรียนรู้ได้จากการทำงานที่ผ่านมาคือ

1. การเป็นคนคิดบวก สิ่งสำคัญของการคิดบวกไม่ใช่การ
หลอกตัวเองแต่เป็นการรักษาใจในแดนบวก เพราะเราคงไม่สามารถก้าวเดินต่อไปได้ถ้าเรายังคิดลบ เศร้าเสียใจต่อสิ่งที่มันเกิดขึ้นไปแล้ว การคิดบวกทำให้จิตใจของเราสงบสุขและมีพลัง พร้อมที่จะแก้ปัญหาหากมันสามารถแก้ได้ หรือพร้อมที่จะปล่อยวางเมื่อมันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสงบเย็นและมีประโยชน์ต่อทั้งตนเอง คนรอบข้างและสังคม

2.การคิดวิเคราะห์ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นต้องรู้ที่จะคิดวิเคราะห์ อะไรคือปัญหา หาสาเหตุของปัญหาเกิดจากอะไร มีทางไหนในการแก้ปัญหาบ้าง และสุดท้ายเลือกเอาหนึ่งในทางที่คิดได้นำมาแก้ปัญหา เฉกเช่นเดียวกับอริยสัจจ 4 หรือความจริง 4 ประการที่ประกอบด้วย ทุกข์ สมุหทัย นิโรธ และสุดท้ายมรรค

3.จงมีเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งกับชีวิต และการทำงาน เป้าหมายจะกำหนดทิศทางให้กับเรา เพราะกว่าจะบรรลุเป้าหมายได้ต้องใช้เวลา หากเรามีเป้าหมายไม่ชัดเจน ระหว่างทางอาจเกิดหลงทางได้จากสิ่งที่เราพบเจอระหว่างทางที่ไม่ใช่่

4.เป็นนักทดลองที่ไม่ย่อท้อ การที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้นอาจเจอปัญหาและอุปสรรคได้ในระหว่างทาง เมื่อได้คิดวิเคราะห์ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว หากเมื่อปฏิบัติตามทางเลือกที่เราเลือกแล้วพบว่า ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ อย่าดันทุรัง คิดใหม่ทำใหม่และอย่าย่อท้อเป็นอันขาด ทางนี้แก้ไม่ได้ก็หาทางใหม่ทดลองไปจนกว่าจะมันมา

5.ฝึกที่จะตั้งคำถามเพราะ"คำถามสำคัญกว่าคำตอบ" การตั้งคำถามที่ดีย่อมนำคำตอบที่ดีมาให้ด้วย หลักการ 5W1H ยังคงใช้ได้

6.ฝึกขอบคุณจากใจจริงกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่ามันจะดีหรือไม่ดีต่อเรา

จงทำเหตุให้ดี แล้วปล่อยวางในผล นี่คือบทสรุปของทั้งหมด เหตุจะดูแลผลเอง....

วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การนำวุฒิปริญญาโทมาเทียบเป็นประสบการณ์การบริหารของท้องถิ่น ตอน2


รูปที่ 1 หน้าปกคำรับรองการปฏิบัติราชการและผลงานที่เป็นผลสัมฤทธิ์

       ภายหลังจากที่รู้แล้วว่าสามารถนำวุฒิปริญญาโทมาใช้ได้ สิ่งที่ต้องเตรียมในลำดับถัดมาคือเอกสารและผลงานที่จะนำเสนอคณะกรรมการประเมิน โดยทั่วไปจะจัดทำเป็นรูปเล่ม ภายในจะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆดังนี้

       1. หน้าปกตามรูปที่ 1

       2. ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสนอผลงาน มีด้วยกัน 8 ข้อ

       3. คำนำ

       4. สารบัญ

       5. ข้อมูลเนื้อหาต่างๆ โดยแบ่งออกเป็นส่วนๆทั้งหมด 4 ส่วน

       6. ภาคผนวก

      รายละเอียดในส่วนต่างๆ ตามหัวข้อพอจะอธิบายให้ทราบดังนี้

       1. หน้าปกตามรูปที่ 1 มีข้อความที่ปรากฎอยู่ที่หน้าปกของเอกสาร 3 ส่วนคือส่วนบนจะเป็นข้อความที่บอกว่าเป็นเอกสารอะไร ซึ่งมีข้อความดังนี้ "คำรับรองการปฏิบัติราชการ และผลงานที่เป็นผลสัมฤทธิ์" ส่วนที่ 2 เป็นส่วนของผู้จัดทำหรือผู้นำเสนอ มีข้อความที่ระบุคือ " จัดทำโดย ชื่อ-สกุล (ผู้จัดทำ) ตำแหน่ง สังกัดหน่วยงานไหน อำเภอ จังหวัดอะไร" และส่วนสุดท้ายซึ่งอยู่ล่างสุดของหน้ากระดาษ มีข้อความดังนี้ "เพื่อเสนอขอรับความเห็นชอบในการนำวุฒิปริญญาโทมาเทียบ เป็นประสบการณ์การบริหาร เพื่อลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งบริหาร เพื่อประโยชน์ในการคัดเลือกในการดำรงตำแหน่งบริหารในระดับที่สูงขึ้น"

       2. ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสนอผลงาน มีด้วยกัน 8 ข้อ มีรายละเอียดดังนี้
              2.1.  ชื่อผู้ขอเสนอผลงาน
              2.2  ตำแหน่ง
              2.3  ผลงานขอรับการประเมิน (ชื่อผลงานที่ปฏิบัติ)
              2.4  วันเดือนปีเกิด
              2.5  ภูมิลำเนาเดิม
              2.6  ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เงินเดือน  หน่วยงานสังกัด
              2.7. ประวัติการศึกษา ระดับ  ปริญญาตรี  จากมหาวิทยาลัย
                                                ระดับ  ปริญญาโท  จากมหาวิทยาลัย
              2.8 ที่อยู่ปัจจุบัน
         การกรอกข้อมูลตามหัวข้อเป็นการกรอกข้อมูลของผู้รับประเมินหรือผู้เสนอผลงาน

       3. คำนำ เป็นคำนำที่ผู้เสนอผลงานเขียนขึ้นใจความสำคัญที่ควรจะต้องเขียนคือการเขียนถึงท้องถิ่น ความสำคัญในการบริหารที่จะนำไปสู่การอยู่ดีกินดีของพื้นที่อะไรประมาณนี้ และจะต้องเขียนถึงการจัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้นเพื่ออะไร จะมีผลดีอย่างไรต่อท้องถิ่น อันนี้แล้วแต่ความสามารถของผู้เสนอผลงานที่จะเขียนให้เชื่อมโยง อ่านแล้วสละสลวย

       4. สารบัญ

       5. ข้อมูลเนื้อหาต่างๆ โดยแบ่งออกเป็นส่วนๆทั้งหมด 4 ส่วน ประกอบด้วย
           ส่วนที่  1   ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ท่านสังกัด (วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา) ส่วนนี้สามารถนำเอาเนื้อบางส่วนจากแผนพัฒนา 4 ปี มาใช้ได้  
            ส่วนที่  2  บทบาทหน้าที่ของตำแหน่ง ส่วนนี้เป็นการนำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งมาอธิบาย ในการอธิบายบทบาทหน้าที่ของรองปลัดเทศบาลที่ผมได้จัดทำนั้น ได้มีการเกริ่นนำจากระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ในมาตรา 48 เอกูนวีสติที่ว่าด้วยเรื่องของปลัดเทศบาล ทั้งนี้เนื่องจากรองปลัดเทศบาลเป็นผู้ช่วยปลัดเทศบาลจึงจำเป็นที่จะต้องอ้างถึงปลัดเทศบาลเป็นหลัก
             ส่วนที่  3   คำรับรองการปฏิบัติราชการ เป็นคำรับรองการปฏิบัติราชการที่ผู้รับการประเมินจะต้องทำกับนายกเทศมนตรี มีตัวอย่างคำรับรองดังนี้

คำรับรองการปฏิบัติราชการ
 (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
อำเภอ....................   จังหวัด..................
ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. ..................
--------------------------

      1. ข้าพเจ้า .......................................  ในฐานะ.....(ตำแหน่ง)................  พร้อมคณะทำงานได้ร่วมกันพิจารณาและเลือกตัวชี้วัดในประเด็นการประเมินผลการปฏิบัติราชการของแต่ละมิติ
    2. ข้าพเจ้า  ...........................................  ในฐานะ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ได้พิจารณาและเห็นชอบประเด็นการประเมินและตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการ  เป้าหมาย และรายละเอียดอื่น ๆตามที่กำหนดในแบบข้อเสนอฯ  ที่แนบมาพร้อมนี้และข้าพเจ้ายินดีจะกำกับ และตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการของ .................................... และคณะทำงานดังกล่าวให้เป็นไปตามคำรับรองที่จัดทำขึ้น
3. ข้าพเจ้า  ..........................................  ในฐานะ ...........(ตำแหน่ง)............. ได้ทำความเข้าใจคำรับรองตามแบบที่กำหนดในแบบข้อเสนอฯ ดังกล่าว ขอให้ข้อตกลงกับ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่าจะมุ่งมั่นปฏิบัติราชการให้เกิดผลงานที่ดี ตามเป้าหมายของตัวชี้วัดในระดับสูงสุด และจะกำกับดูแลการปฏิบัติราชการของทุกสำนัก/กอง  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายแต่ละมิติที่ให้คำรับรองไว้
  4. ทั้งสองฝ่ายได้ทำความเข้าใจในข้อตกลงการปฏิบัติราชการและเห็นพ้องกันแล้วจึงได้  ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ




                            ลงชื่อ           ลงชื่อ
                                   (.........................................) (.............ผู้รับการประเมิน...........)
                    นายกเทศมนตรีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น       ตำแหน่ง
                    วันที่......                                                       วันที่.......


และมีเอกสารประกอบท้ายคำรับรองการปฏิบัติราชการที่ได้กำหนดให้มีการดำเนินการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตกลง ส่วนใหญ่จะเป็นคำรับรองการปฏิบัติราชการด้านประสิทธิภาพและคุณภาพของงานที่จะเกิดขึ้นอันเป็นประโยชน์ต่อองค์กรและประชาชน

                  ส่วนที่  4   ผลงานที่เป็นผลสัมฤทธิ์ ในส่วนนี้จะเป็นผลงานที่ผู้ถูกประเมินจะต้องเลือกมานำเสนอต่อผู้ประเมิน หัวข้อที่ปรากฎในส่วนนี้ประกอบด้วย
                                    1. ชื่อผลงาน
                                    2. ระยะเวลาที่ดำเนินการ
                                    3. ความรู้ทางวิชาการ หรือแนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินการ
                                    4. สรุปสาระสำคัญและขั้นตอนในการดำเนินการ
                                   

      6. ภาคผนวก เป็นเอกสารประกอบของผู้รับการประเมินแนบมา เช่น     
                                      -  ข้อมูลส่วนบุคคล
                                      -  เอกสารการศึกษา
                                      -  ทะเบียนประวัติ
                                      -  เอกสารในการดำเนินการต่างๆ
                                      -  รูปภาพในการดำเนินการต่างๆ



และนี้คือรายละเอียดที่ผมได้เคยจัดทำขึ้นมา หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อพี่น้องชาวท้องถิ่นทุกท่านที่จะสามารถนำไปใช้ในการนำเอา ปริญญาโทมาร่นระยะเวลาต่อไปนะครับ ทั้งนี้หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษาสามารถติดต่อทาง e-mail ได้นะครับ engineernui@gmail.com หรือโทรศัพท์ 063-3639893

วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การนำวุฒิปริญญาโทมาเทียบเป็นประสบการณ์การบริหารของท้องถิ่น ตอน1

การนำวุฒิปริญญาโทมาเทียบเป็นประสบการณ์การบริหาร เพื่อลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งบริหารเพื่อประโยชน์ในการคัดเลือกในการดำรงตำแหน่งบริหารในระดับที่สูงขึ้น

        ปัจจุบันข้าราชการส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะตำแหน่งบริหารได้มีการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทเพิ่มมากขึ้นซึ่งในการสำเร็จการศึกษาปริญญาโทนั้น นอกจากการที่ได้ความรู้ที่สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานแล้ว ยังสามารถนำวุฒิปริญญาโทมาเทียบเป็นประสบการณ์การบริหารเพื่อลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งบริหารเพื่อประโยชน์ในการคัดเลือกในการดำรงตำแหน่งบริหารในระดับที่สูงขึ้นได้ด้วย
         ผมเองได้นำวุฒิปริญญาโทมาเทียบเป็นประสบการณ์การบริหารเพื่อลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งบริหารเพื่อประโยชน์ในการคัดเลือกในการดำรงตำแหน่งบริหารในระดับที่สูงขึ้นเมื่อครั้งที่ยังดำรงตำแหน่งรองปลัดเทศบาลระดับ 7 (นักบริหารเทศบาล 7) ในขณะนั้น เมื่อต้องการที่จะสอบเลื่อนระดับเป็นรองปลัดเทศบาลระดับ 8 (นักบริหารเทศบาล 8) โดยที่ขณะนั้นยังไม่ได้เข้าสู่ระบบแท่งเหมือนในตอนนี้
         เพื่อเป็นแนวทางให้กับพี่ๆ น้องๆ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่มีความประสงค์ที่จะจัดทำเอกสารเพื่อลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งบริหารฯ ผมจึงขอแชร์ประสบการณ์ในการจัดทำเอกสารดังกล่าว
         เริ่มจากการพิจารณาคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่เราประสงค์จะสอบคัดเลือกว่าสามารถที่จะนำวุฒิปริญญาโทมาใช้ได้หรือไม่ ซึ่งสำหรับกรณีผมนั้นตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งเบื้องต้นของผมเองนั้นเนื่องจากผมต้องการที่จะสอบเป็นรองปลัดเทศบาล ระดับ 8 (นักบริหารเทศบาล 8) เมื่อพิจารณาคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะรองปลัดเทศบาล 8 ได้กำหนดไว้ว่า "ดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งไม่ต่ำกว่ารองปลัดเทศบาล 7  (นักบริหารงานเทศบาล 7) หรือที่ก.ท. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารงาน เทศบาล หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี กําหนดเวลา 4 ปีให้ลดเป็น 3 ปีสําหรับผ้ไดู้รับปริญญาโท หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางรัฐศาสตร์ การปกครอง รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ กฎหมายหรือทางอื่นที่ก.ท.กําหนดวาใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตําแหน่งนี้ได้" ผมเองได้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท คุณวุฒิ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งตรงกับคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งในฐานะรองปลัดเทศบาล 8 ทำให้สามารถนำวุฒิปริญญาโทมาใช้ได้ (ให้ท่านพิจารณาดูคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ท่านประสงค์จะสอบคัดเลือกว่าสามารถนำวุฒิปริญญาโทมาใช้ได้หรือไม่)
           เมื่อรู้แล้วว่าสามารถที่จะนำวุฒิปริญญาโทมาใช้ได้ ต่อไปคือการจัดทำเอกสารในประกอบการประเมิน

ว่ากันต่อในตอน2 นะครับ

วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ปฐมบทของการเริ่มต้น

สำหรับ blog นี้เป็น blog ที่ผมอยากจะทำเพื่อเผยแพร่ ความรู้ ประสบการณ์ที่ได้ประสบพบเจอมาตลอดระยะเวลาที่ได้ทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากว่า 17 ปี ซึ่งพอจะให้ผู้สนใจได้นำไปใช้ นำไปเป็นแนวทางในการทำงานในองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น 

สังคมปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ผู้ที่รู้หรือมีประสบการณ์ในสาขาต่างๆ ได้นำความรู้มาถ่ายทอด มาเล่าให้กับผู้ที่ปฏิบัติงานในสายงานเดียวกัน เพื่อที่จะได้เป็นการบอกกล่าว ถึงการทำงานของผู้ที่ได้ผ่านเรื่องราวต่างๆมาแล้ว ให้ผู้ที่ใคร่รู้ อยากรู้ได้รับทราบ เพื่อที่จะได้นำสิ่งที่ผู้รู้นั้นมาปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลมากยิ่งๆขึ้น ทั้งยังเป็นการเรียนรู้ที่เร็วจากผู้ที่มีประสบการณ์ ทำให้ลดข้อผิดพลาดจากการทำงานได้ด้วย

ผมไม่อาจคิดว่าตัวเองเก่งมีความสามารถมากมายอะไร แต่ผมมีความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะร่วมพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีองค์ความรู้อันจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานให้กับองค์กร ส่งผลให้เกิดความผาสุขแก่่ชุมชน และประเทศชาติต่อไป

                                                                                                 ธนเดช เตียวสกุล
                                                                                      รองปลัดเทศบาลตำบลแม่ขรี
                                                                                      นักบริหารท้องถิ่นระดับกลาง
                                                                                                      13/06/60